พันธกิจ วิสัยทัศน์ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

พันธกิจ วิสัยทัศน์ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

วิสัยทัศน์ (Vision)
“องค์กรธรรมาภิบาลชั้นนำด้านการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศชาติ”

พันธกิจ (Mission)
พัฒนาระบบและกลไกการตรวจเงินแผ่นดินให้เป็นมาตรฐานสากล และเสริมสร้างวินัยทางงบประมาณและการคลัง ปรากฏผลงานที่น่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับต่อสาธารณชนและนานาชาติ และสามารถน าไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ
ส่งเสริมและผลักดันให้ทุกภาคส่วนตระหนักและมีส่วนร่วมในการดูแลการใช้จ่ายเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด
พัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรโดยยึดหลักคุณธรรม นิติธรรม ความโปร่งใส ความมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบ และความคุ้มค่า เพื่อน าไปสู่องค์กรธรรมาภิบาล
พัฒนาสมรรถนะบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ และส่งเสริมการจัดการความรู้ด้านการตรวจเงินแผ่นดินอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
ค่านิยมร่วม (Core Value)
สัตย์ซื่อ มืออาชีพ รับผิดชอบ

ยุทธศาสตร์ (Strategic Issues)
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาระบบและกลไกการตรวจเงินแผ่นดินและเสริมสร้างวินัยทางงบประมาณและการคลัง
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การส่งเสริมและผลักดันให้ทุกภาคส่วนตระหนักและมีส่วนร่วมในการตรวจเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของชาติ
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรสู่องค์กรธรรมาภิบาล
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาสมรรถนะบุคลากร และส่งเสริมการจัดการความรู้
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Goals)
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ก าหนดเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ ตามกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ๔ มิติ ดังนี้

มิติที่ ๑ มิติด้านประสิทธิผลตามยุทธศาสตร์มี ๔ เป้าประสงค์ ได้แก่
เป้าประสงค์ที่ 1 การตรวจสอบครอบคลุมและทันกาล
เป้าประสงค์ที่ 2 ผลงานเป็นที่ยอมรับ เชื่อถือได้ และน าไปใช้ประโยชน์
เป้าประสงค์ที่ 3 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นองค์กรธรรมาภิบาล
เป้าประสงค์ที่ 4 มีสถาบันธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาบุคลากรทั้งภายในและภายนอก
มิติที่ ๒ มิติด้านคุณภาพการให้บริการมี 2 เป้าประสงค์ได้แก่
เป้าประสงค์ที่ 5 การตรวจสอบเป็นไปตามมาตรฐานสากล
เป้าประสงค์ที่ 6 หน่วยรับตรวจพึงพอใจ
มิติที่ ๓ มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ มี 7 เป้าประสงค์ได้แก่
เป้าประสงค์ที่ 7 คู่มือและแนวปฏิบัติการตรวจสอบเป็นมาตรฐาน และทันสมัย
เป้าประสงค์ที่ 8 การติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์ที่ 9 การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบและกลไกการตรวจเงินแผ่นดิน
เป้าประสงค์ที่ 10 ความร่วมมือระหว่างเครือข่ายในประเทศและต่างประเทศ
เป้าประสงค์ที่ 11 การรณรงค์สื่อสารประชาสัมพันธ์มีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์ที่ 12 การบริหารแผนงานมีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์ที่ 13 การบริหารเครื่องมืออุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพและเพียงพอ
มิติที่ ๔ มิติด้านการพัฒนาองค์กร มี 5 เป้าประสงค์ ได้แก่
เป้าประสงค์ที่ 14 บุคลากรมีเพียงพอและมีสมรรถนะ ตลอดจนความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานตามภารกิจ
เป้าประสงค์ที่ 15 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและฐานข้อมูลสนับสนุนการบริหารและการตรวจสอบ
เป้าประสงค์ที่ 16 การจัดการความรู้ในองค์กรเป็นระบบและต่อเนื่อง
เป้าประสงค์ที่ 17 วัฒนธรรมและค่านิยมองค์กรมีความเข้มแข็ง
เป้าประสงค์ที่ 18 ระเบียบข้อบังคับที่ได้รับการยอมรับ และถือปฏิบัติร่วมกันอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น